วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ระบบการจัดการเรียนการสอน Learning Management System


ที่มารูปภาพ : http://nunui-nunoi.blogspot.com/2012/09/lms.html


ระบบการจัดการเรียนการสอน
Learning Management System

ความหมายของ LMS 
  สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้ให้ความหมายของ   LMS ว่าเป็นคำที่ย่อมาจาก Learning ManagementSystem หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
ชฎิล เกษมสันต์  กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนแบบ e-Learning ให้มีประสิทธิภาพ ควรจะมีระบบ LMS มาสนับสนุนเพื่อให้การผลิตบทเรียนและการดำเนินการจัดการเรียนการสอนเป็นไปได้ง่าย และประหยัดเวลามากขึ้น
 LMS เป็นคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อบันทึก และจัดข้อมูลการเรียนการสอน โดยโปรแกรมจะทำหน้าที่ตรวจสอบการเข้ามาใช้บทเรียน และออกจากบทเรียนของผู้เรียน ตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้เรียนในแต่ละบทรวมทั้งการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์คะแนนสอบของผู้เรียนแต่ละคนด้วยในตัวของ 
LMS เป็นระบบที่มีความสำคัญอย่างมากใน e-Learning ดังคำกล่าวที่ว่า “that if course content is King, then infrastructure (LMS) is God” โดย LMS เป็นแอพพลิเคชันที่มาช่วยจัดการ และควบคุมกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งหมดของ e-Learning อาศัยการติดตามผล วิเคราะห์ และรายงานถึงประสิทธิภาพของระบบฝึกอบรม รวมทั้งช่วยในการจัดการฐานข้อมูลความรู้ของหน่วยงาน ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะทำให้การดำเนินธุรกิจในยุค New Economy ประสบผลสำเร็จ
LMS ก็เปรียบเสมือนกับโรงเรียน เมื่อคุณล็อกอินเข้าสู่ระบบ LMS เพื่อเข้าเรียน ก็เหมือนกับคุณก้าวเท้าเข้าสู่ประตูโรงเรียน คุณสามารถทำอะไรก็ได้ใน LMS เหมือนกับที่คุณทำได้ในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกวิชาที่จะลงเรียน การเข้าไปอ่านเนื้อหาของบทเรียน ทำแบบฝึกหัด ทำแบบทดสอบ และมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ผู้สอน หรือนักเรียนคนอื่นๆ อาจารย์ผู้สอนผู้ดูแลระบบผู้จัดการ สามารถสังเกตุดูพฤติกรรมการเข้าเรียนของคุณผ่านข้อมูลที่ได้ถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลของ LMS ปัจจุบันระบบของ LMS นี้จะมีอยู่สองรูปแบบคือรูปแบบของ ซอฟต์แวร์ปกติ และ ASP (Application Service Provider) ซึ่งแบบหลังก็เหมือนกับการใช้บริการ ซึ่งการเลือกใช้ LMSระบบใดก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างของหน่วยงาน 
               ดร.ศุภชัย สุขะนินทร์ และกรกนก วงศ์พานิช  กล่าวว่า ระบบบริหารการเรียน หรือ  Learning Management System  เป็นคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อบันทึก และจัดข้อมูลการเรียนการสอน โดยโปรแกรมจะทำหน้าที่ตรวจสอบการเข้ามาใช้บทเรียน  และออกจากบทเรียนของผู้เรียนตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้เรียนในแต่ละบท รวมทั้งการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์คะแนนสอบของผู้เรียนแต่ละคนด้วย
              
เนื่องจากการเรียนแบบออนไลน์หรือ e-learning นั้นเป็นการเรียนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ศึกษา เรียนรู้ได้ด้วยตัวเองระบบบริหารการเรียนที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน นำส่งบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ประเมินผลความสำเร็จของบทเรียน ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการทั้งหมดแก่ผู้เรียน จึงถือว่าเป็นองค์ประกอบของ e- learning ที่สำคัญมาก เราเรียกระบบนี้ว่าระบบบริหารการเรียน (LMS :  e-Learning Management System)
              ถ้าจะกล่าวโดยรวม LMS จะทำหน้าที่ตั้งแต่ผู้เรียนเริ่มเข้ามาเรียน โดยจัดเตรียมหลักสูตรบทเรียนทั้งหมดเอาไว้พร้อมที่จะให้ผู้เรียนได้เข้ามาเรียน       เมื่อผู้เรียนได้เริ่มต้นบทเรียนแล้วระบบจะเริ่มทำงานโดยส่งบทเรียนตามคำขอของผู้เรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์(อินเทอร์เน็ตอินทราเน็ต หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์อื่นๆ) ไปแสดงที่ Web browser ของผู้เรียน  จากนั้นระบบก็จะติดตามและบันทึกความก้าวหน้า รวมทั้งสร้างรายงานกิจกรรมและผลการ เรียนของผู้เรียนในทุกหน่วยการเรียนอย่างละเอียดจนกระทั่งจบหลักสูตร
  
องค์ประกอบระบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน
ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ
1)
ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management)
กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้ และ จำนวนบทเรียนได้โดยไม่จำกัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยได้อย่างเต็มรูปแบบ
2)
ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management)
ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media
3)
ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบโดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและ
การตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน
4)
ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools)
ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Web board และ Chat room โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้
5)
ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System)
ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin กำหนดให้

การนำระบบการบริหารจัดการเรียนการสอน (LMS) ไปประยุกต์ใช้งาน
ระบบ LMS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นในลักษณะที่จัดกระบวนการบริหารจัดการการเรียนการสอนทั้งระบบ โดยที่ผู้ใช้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ง่าย และสะดวก ในหน่วยงาน องค์กรต่างๆ อย่างหลากหลาย เช่น สถาบันการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรม หน่วยงานราชการ บริษัทเอกชน โดยการนำไปใช้งานผู้ใช้สามารถปรับการใช้งานให้เหมาะสมกับหน่วยงาน จุดประสงค์หลักในการพัฒนาระบบขึ้นมาก็เพื่อสร้างระบบการเรียนการสอนและใช้งานในหน่วยงานทั้งระบบ E-Learning หรือระบบ Knowledge Management (KM) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับกลุ่มผู้ใช้งานในระบบการบริหารจัดการเรียนการสอน (LMS) นั้นสามารถที่จะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ซึ่งได้แก่
1)
กลุ่มผู้บริหารระบบ (Administrator)
ทำหน้าที่ในการติดตั้งระบบ LMS การกำหนดค่าเริ่มต้นของระบบ การสำรองฐานข้อมูล การกำหนดสิทธิ์การเป็นผู้สอน
2)
กลุ่มอาจารย์หรือผู้สร้างเนื้อหาการเรียน (Instructor / Teacher)
ทำหน้าที่ในการเพิ่มเนื้อหา บทเรียนต่างๆ เข้าระบบ อาทิ ข้อมูลรายวิชา เอกสารประกอบการสอน การประเมินผู้เรียนโดยใช้ข้อสอบปรนัย อัตนัย การให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และสนทนากับนักเรียน
3)
กลุ่มผู้เรียน (Student/Guest)
หมายถึงนักเรียน นักศึกษา ที่สมัครเข้าเรียนตามหัวข้อต่าง ๆ รวมทั้งการทำแบบฝึกหัด ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้สอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น