วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

M-learning


M-Learning

                     หมายถึง การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ (mobile learning) เป็นการจัดการเรียนการสอน หรือการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านคอร์สแวร์ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน การสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย (wireless telecommunication network) และ เทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา โดยผ่านสัญญาณแบบไร้สายที่มีบริการตามจุดต่างๆของมหาวิทยาลัยและภายนอก มหาวิทยาลัย (Access Point) ผู้เรียนและผู้สอนใช้อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ได้ที่มีความสามารถในการเชื่อม ต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (Wireless Lan) ได้แก่ Notebook Computer, Portable computer, PDA/PAD Phone, Tablet PC, Cell  Phones /Cellular Phoneในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือการเข้าถึงข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ด้วยผู้เรียนเอง

การจัดการเรียนการสอนแบบ m-Learning นั้น ผู้เรียนต้องใช้อุปกรณ์แบบติดตามตัวหรือเคลื่อนไปได้โดยสะดวก (mobile devices) ซึ่งอุปกรณ์แต่ละประเภทมีความสามารถ มีขนาดและราคาที่แตกต่างกันไป  อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนการสอนแบบ m-Learning ได้ มีดังนี้

Notebook computers  เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาได้ มีความสามารถเทียบเท่าหรือเหนือกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป (Desktop of Personal Computer) ปัจจุบันมีขนาดเล็กและสามารถพกพาได้โดยสะดวก แต่ราคายังค่อนข้างสูง

ที่มารูปภาพ : http://www.metaefficient.com

Tablet PC  เป็นคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา มีความสามารถเหมือนกัน PC บางชนิดไม่มีแป้นพิมพ์แต่ใช้ซอฟต์แวร์ประเภทรู้จำลายมือในการรับข้อมูล ยังมีราคาแพงอยู่มาก

ที่มารูปภาพ : http://bagoesnet.com/category/hardware/

Personal Digital Assistant (PDA) เป็นอุปกรณ์พกพา เสมือนเป็นผู้ช่วยดิจิตอลส่วนตัว หน่วยประมวลผลมีความสามารถสูง จอภาพแสดงผลได้ถึง 65000 สีขึ้นไป สามารถประมวลผลไฟล์ประเภทมัลติมีเดียได้ทุกประเภท ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการมักใช้ Palm หรือ Microsoft Pocket PC มีซอฟต์แวร์ให้เลือกติดตั้งได้หลากหลาย

Cellular phones  เป็นอุปกรณ์ประเภทโทรศัพท์มือถือทั่วไป เน้นการใช้ข้อมูลประเภทเสียงและการรับส่งข้อความ (SMS) มีข้อจำกัด คือ มีหน่วยความจำน้อย อัตราการโอนถ่ายข้อมูลต่ำ ในรุ่นที่มีความสามารถ สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน WAP (Wireless Application Protocol) หรือ GPRS (General Packet Radio Service)
ที่มารูปภาพ : http://en.wikipedia.org/wiki/Mobile_phone

Smart Phones เป็นอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ความสามารถสูง รวมความสามารถของ PDA และ Cellular phones เข้าด้วยกัน อาจมีขนาดเล็กกว่า PDA และใหญ่กว่า Cellular phones ใช้ระบบปฏิบัติการ คือ  Symbian  หรือ Windows Mobile มีโปรแกรมประเภท Internet Browser ใช้เป็นอุปกรณ์ Multimedia สำหรับการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มารูปภาพ : http://www.springfieldnewssun.com

ส่วนประกอบข่ายงานของ M-Learning ประกอบด้วย          
          1. ข้อมูลคำอธิบายต่าง ๆ เกี่ยวกับบทเรียน (context data) ได้แก่ คำอธิบายบทเรียน คู่มือการใช้งาน การช่วยเหลือ และข้อมูลที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนในระหว่างการเรียนรู้           
          2. เครื่องมือสนับสนุนที่ชาญฉลาด (intelligent support engine) ได้แก่ เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย รวมถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารและจัดการบทเรียน (mLMS) เริ่มตั้งแต่การลงทะเบียน นำเสนอ จัดการ ติดต่อสื่อสาร ติดตามผล และประเมินผล รวมถึงอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ เพื่อใช้สนับสนุนการเรียนการสอนผ่านจอภาพของโทรศัพท์มือถือหรือ คอมพิวเตอร์แบบพกพา ส่วนนี้จะทำงานสัมพันธ์กับ task model และ user model ที่ได้มีการออกแบบไว้ก่อนเกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินการเกี่ยวกับภารกิจหรือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่จะนำเสนอให้กับผู้เรียน          
          3. หน่วยเก็บเนื้อหาบทเรียน (content repository) ได้แก่ ส่วนของเนื้อหาบทเรียน รวมทั้งแบบฝึกหัดแบบทดสอบ และส่วนข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นองค์ความรู้เพื่อถ่ายทอดไปยังผู้เรียน          
          4. ส่วนของการติดต่อกับผู้เรียน (interface) ได้แก่ ส่วนของการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนผ่านแป้นพิมพ์และจอภาพของเครื่องสำหรับการ เรียนการสอนในลักษณะของ E-Learning ส่วนที่ทำหน้าที่หลัก ในการบริหารและจัดการรวมทั้งการนำพา (tracking) ผู้เรียนตั้งแต่เมื่อแรกเริ่มลงทะเบียนไปยังเป้าหมายปลายทางก็คือ LMS (learnig management system) ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจของระบบการเรียนการสอนแบบ e-Learning ที่ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนแทนผู้สอนทั้งหมด ปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบ LMS ขึ้นมาเพื่อการพาณิชย์เป็นจำนวนมาก เช่น Lotus Learning Space WebCT Blackboard SAP TopClas และ Intralearn เป็นต้น

ข้อดีของ M-Learning
1. การใช้ m-Learning สามารถใช้ได้ทุกสถานที่และทุกเวลา
 ถึงแม้สถานที่นั้น จะไม่มีสายสัญญาณให้เชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เป็นการแก้ไขปัญหาในการเรียนแบบ Location Dependent Education
2. อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อแบบไร้สายส่วนมาก มักมีราคาต่ำกว่า
เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ และมีขนาด น้ำหนักน้อยกว่าคอมพิวเตอร์
ส่วนบุคคลทั่วไป ทำให้สะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่าง ๆ
ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนสถานที่ใด เวลาใดก็ได้
3. จำนวนผู้ใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่มีจำนวนมาก และใช้อยู่แล้วในชีวิตประจำวัน
 หากนำอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีไร้สาย มาใช้ในการจัดการเรียน
การสอนก็จะเป็นการเพิ่มช่องทางและจำนวนผู้เรียนได้
4. การเรียนในรูปแบบ m-Learning เป็นการเรียนรู้แบบเวลาจริง
เนื้อหามีความยืดหยุ่นกว่าบทเรียนแบบ e-Learning
ทำให้การเรียนรูได้รับข้อมูลที่ทันสมัยและสอดคล้องกับ
สถานการณ์ปัจจุบันได้ ดีกว่า e-Learning
5. ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนหรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้ทันที
 เช่น การส่งข้อความ การส่งไฟล์รูปภาพ หรือแม้กระทั่งการสนทนา
แบบเวลาจริง (Real time)
6. มีค่าใช้จ่ายโดยรวมถูกกว่าบทเรียนที่นำเสนอผ่านไมโครคอมพิวเตอร์
 ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ข้อจำกัดของโทรศัพท์ ์เคลื่อนที่
ก็ยังคงมีอยู่บ้าง ซึ่ง แมคลีน (McLean, 2003) ได้กล่าวถึงอุปกรณ์สำคัญ
ในการจัดทำโปรแกรมสำหรับการเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์ เคลื่อนที่ อันอยู่บน
 พื้นฐานความสามารถของตัวเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่เอง สามารถสรุปได้ดังนี้  

ข้อจำกัดของ M-Learning 
ข้อจำกัดของโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ ยังคงมีอยู่บ้าง ซึ่ง แมคลีน (McLean, 2003)
 ได้กล่าวถึงอุปกรณ์สำคัญในการจัดทำโปรแกรม สำหรับ การเรียนรู้ผ่าน
โทรศัพท์เคลื่อนที่ อันอยู่บนพื้นฐานความสามารถของตัวเทคโนโลยีโทรศัพท์
เคลื่อนที่เอง สามารถสรุปได้ดังนี้
1. หน่วยความจำที่จำกัดและการติดตั้งโปรแกรมเป็นอุปสรรคหลัก
แบบเคลื่อนที่ ส่วนมากมีขนาดหน่วยความจำมีความจุน้อยกว่า
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป ทำให้มีข้อจำกัดในการจัดเก็บไฟล์ประเภทมัลติมีเดีย
2. จอภาพแสดงผลของอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก
โดยเฉพาะในโทรศัพท์มือถือ ทำให้ไม่สามารถแสดงข้อมูล สารสนเทศ
 ให้ผู้เรียน เห็นได้อย่างชัดเจน
3. การเชื่อมต่อสัญญาณทำได้เป็นพัก ๆ ไม่สามารถติดต่อได้นาน
 เครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายมีความเร็ว ต่ำ
เป็นอุปสรรคสำคัญในการเรียนแบบ M-Learning เพราะไม่สามารถใช้สื่อ
ประเภทมัลติมีเดียขนาดใหญ่
4. การปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มอุปกรณ์ในอุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ ทำได้ยากกว่าคอมพิวเตอร์
5. การเชื่อมโยงระบบการจัดการเรียนการสอนหรือระบบการวางแผนยังเพิ่ง
เริ่มการพัฒนา
6. การผลิตเพื่อนำไปใช้มักเกิดปัญหากับเจ้าของโปรแกรม
7. การส่งข้อมูลข้ามระหว่างบราวเซอร์กับรูปแบบหน้าจอมือถือยังเป็นไปไม่ได้
8. โปรแกรมที่มีอยู่ไม่ง่ายที่จะนำไปปรับใช้กับเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่
9. ต้นทุนเริ่มต้นในการผลิตยังมีมูลค่าสูง
10. ช่องทางที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นไปได้ยาก
11. การรักษาความปลอดภัยข้อมูลก็ยังมีปัญหาอยู่
12. ค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงข้อมูลในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังสูงอยู่ 
13. แบตเตอรี่หรือแหล่งจ่ายไฟของอุปกรณ์เคลื่อนที่มีระยะเวลาที่จำกัด
 ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
14. การอนุญาตหลายแบบต้องเจรจาเพื่อจะให้เข้าถึงข้อมูลได้
15. การพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังมีอยู่ต่อเนื่องไม่คงที่และ
ไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีการพัฒนาโปรแกรมไปสู่จุดใด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น